เทคนิคการแก้ไขงานฉีดพลาสติก

เทคนิคการแก้ไขงานฉีดพลาสติก

เทคนิคการแก้ไขงานฉีดพลาสติก

เทคนิคการแก้ไขงานฉีดพลาสติก กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกับ Deemark และบทความนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการแก้ไขปัญหางานของฉีดพลาสติก แอดมินเชื่อว่าทุกๆ ท่านต้องเคยเจอกับปัญหาในชิ้นงานฉีดพลาสติกอยู่บ่อยครั้ง หรือ ท่านผู้ประกอบการฉีดพลาสติกรายใหม่ท่านใดที่ต้องการทราบถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญญาในชิ้นงานฉีดพลาสติกของท่าน บทความนี้มีคำตอบให้ท่านแน่นอนค่ะ

Deemark รับฉีดพลาสติก ฉีดพลาสติก ฉีดพลาสติกจำนวนน้อย โรงงานฉีดพลาสติก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อบกพร่องที่พบเจอมากในชิ้นงานฉีดพลาสติก

  • รอยกระทุ้ง (Ejector marks)
  • รอยขีดข่วน (Scralches)

รอยประกายเงิน (Silver streaks)

วิธีการแก้ไข

  • ทำการอบเม็ดพลาสติก เพื่อไล่ความชื้นออกจากเม็ดพลาสติกก่อนการฉีดพลาสติกเพื่อทำการขึ้นรูป
  • เพิ่มแรงดันต้านทานการหมุนถอยหลังกลับของสกรูเพื่อลดปริมาณอากาศในพลาสติกเหลว
  • ลดปริมาณในการทำ Suck Back
  • ลดความเร็วและแรงดันในการฉีด
  • ลดแรงปิดแม่พิมพ์เพื่อช่วยให้ระบายอากาศออกได้ดีขึ้น
  • ตรวจสอบขนาดและตำหน่องของรูระบายอากาศว่ามีพียงพอหรือไม่

ชิ้นงานหดตัว (Shrinkage)

วิธีการแก้ไข

  • เพิ่มแรงดัน
  • เพิ่มอุณหภูมิในการฉีดพลาสติก
  • เพิ่มระยะเวลาในการเย็นตัวในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  • ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของทางเข้าในตัวแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  • ตรวจสอบความหนืดของพลาสติกเหลว

ผิวย่นหรือลอก (Delamination)

วิธีการแก้ไข

ชิ้นงานบิดเบี้ยว (Warpage)

วิธีการแก้ไข

  • ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของช่องน้ำหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  • ตรวจสอบขนาด ลักษณะและตำแหน่งของทางเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  • หลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นงานที่มีความหนามาก

เทคนิคพื้นฐานในการปรับแก้ไขชิ้นงานฉีดพลาสติก

การฉีดพลาสติก-คืออะไร

การบำรุงรักษาแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

สามารถแบ่งแม่พิมพ์สำหรับฉีดพลาสติกออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มที่เกิดการสึกหรอแบบปกติ เช่น สลัก คอร์ บูช
  2. กลุ่มที่เกิดการแตกหักแบบปกติ เช่น Pin , Ejector , Slide

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

  1. การออกแบบโครงสร้างของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  2. วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  3. กระบวนการผลิตแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เช่น การเจียระไน การอบชุบแข็ง การMachining เป็นต้น
  4. การใช้งานแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  5. การบำรุงรักษาแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

ตำแหน่งที่เกิดความเสียหายบ่อยในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

บริเวณ Parting line ผิวหน้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกเกิดเป็นสนิม รอยขีดข่วนหรือรอยบุบ , ผิวของ Cavity หรือ Core เกิดการแตกร้าว , รูทางเข้า หรือ Gate เกิดการอุดตัน , การเคลื่อนตำแหน่งของ Insert , เข็มกระทุ้งเกิดการโค้งงอ หรือแตกหัก , ท่อน้ำเย็นเกิดการอุดตัน

ข้อเสนอแนะในการดูและรักษาแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

หมั่นสังเกตการณ์ทำงานในการฉีดพลาสติก ระบบท่อน้ำหล่อเย็น ว่าในการทำงานของระบบแต่ละครั้งว่าเกิดปัญหาหรือพบเจอความผิดปกติในกระบวนการทำงานหรือไม่ รวมถึงหมั่นทำความสะอาดผิวหน้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกและช่องระบายอากาศด้วยค่ะ

การเก็บรักษาแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

  1. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดถูแม่พิมพ์ให้ทั่วถึง
  2. พ่นสเปรย์ป้องกันสนิม ลงบนหน้าของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
  3. ปิดแม่พิมพ์พลาสติกด้วยแรงปิดที่ต่ำ
  4. เมื่อจะเริ่มใช้งานหรือทำการฉีดพลาสติก ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดถูบริเวณด้านหน้าของแม่พิมพ์อย่างทั่วถึง
  5. ควรเก็บแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกไว้ในที่แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
  6. เก็บไว้ในที่ที่มีป้ายระบุอย่างชัดเจน

แอดมินก็ได้ทำการรวบรวมปัญหาที่เจอบ่อยในชิ้นการฉีดพลาสติก พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไว้ให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจถึงสาเหตุหลักๆ ของปัญหา หวังว่าทุกท่านจะสามารถนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่แอดมินนำมามอบให้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้จริงๆ นะคะ แล้วกับมาพบกันใหม่นำบทความต่อไปนะคะ

บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ให้บริการฉีดพลาสติกขึ้นรูปอย่างครบวงจร ด้วยประสบการณ์ในการทำงานด้านการฉีดพลาสติก ทั้งในประเทศไทยและส่งออกสู่ต่างประเทศมามากกว่า 30 ปี เราจึงสามารถผลิตผลงานการฉีดพลาสติกได้อย่างหลากหลาย และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล โดยเราสามารถทำงานพรินติ้ง, ซิลค์สกรีน, โลโก้, แพ็คกิ้ง เป็นต้น เราผลิตพลาสติกได้ครบทุกรูปแบบ รวมไปถึงการออกแบบต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติกและการผลิตชิ้นงานการฉีดพลาสติกแบบต่าง ๆ และด้วยประสิทธิภาพการฉีดพลาสติกของเรา จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้รับงานฉีดพลาสติกที่มีคุณภาพและเกิดความพึงพอใจสูงสุดอย่างแน่นอน

…………………………………………………………….

สนใจติดต่อฉีดพลาสติก

DEEMARK INDUSTRY CO.,LTD

3/27 หมู่ 2 ซ.วัดศรีเรืองบุญ ถ.กาญจนาภิเษก

ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130

Phone: 02-985-1546, 081-844-8224Fax: 02-984-1538

พลาสติกกับคุณสมบัติทางความร้อน พลาสติกประเภทไหนบ้าง แบ่งได้กี่ประเภท

พลาสติกกับคุณสมบัติทางความร้อน

พลาสติกกับคุณสมบัติทางความร้อน

พลาสติกกับคุณสมบัติทางความร้อน

พลาสติกกับคุณสมบัติทางความร้อน หากแบ่งประเภทของพลาสติกตามคุณสมบัติทางความร้อน เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างโมเลกุลของสายโซ่โพลิเมอร์เป็นแบบเส้นตรงหรือแบบกิ่งสั้นๆ สามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายบางชนิด เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และหลอมเหลวเป็นของเหลวหนืดเนื่องจาก โมเลกุลของโพลิเมอร์ที่พันกันอยู่สามารถเคลื่อนที่ผ่านกันไปมาได้ง่ายขึ้นเมื่อได้รับความร้อน และเมื่อเย็นตัวลงก็จะแข็งตัว ซึ่งการหลอมเหลวและเย็นตัวนี้ สามารถเกิดกลับไปกลับมาได้โดยไม่ทำให้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพ หรือโครงสร้างของโพลิเมอร์เปลี่ยนไปมากนักพลาสติกประเภทนี้สามารถขึ้นรูปโดยการฉีดขณะที่พลาสติกถูกทำให้อ่อนตัวและไหลได้ด้วยความร้อนและความดัน เข้าไปในแม่แบบที่มีช่องว่างเป็นรูปร่างตามต้องการ ภายหลังจากที่พลาสติกไหลเข้าจนเต็มแม่พิมพ์จะถูกทำให้เย็นตัว และถอดออกจากแม่พิมพ์ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างตามต้องการ สามารถนำไปใช้งานได้ เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้โดยการบด และหลอมด้วยความร้อนเพื่อขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีก แต่พลาสติกประเภทนี้มีข้อเสียและขีดจำกัดของการใช้งาน คือไม่สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เพราะอาจเกิดการบิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรงไป ตัวอย่างเช่น ขวดน้ำดื่มไม่เหมาะสำหรับใช้บรรจุน้ำร้อนจัดหรือเดือด

เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting)

โพลิเมอร์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างเป็นแบบร่างแห ซึ่งจะหลอมเหลวได้ในขั้นตอนการขึ้นรูปครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีปฏิกิกริยาเคมีเกิดขึ้นทำให้เกิดพันธะเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล ทำให้โพลิเมอร์มีรูปร่างที่ถาวร ไม่สามารถหลอมเหลวได้อีกเมื่อได้รับความร้อน และหากได้รับความร้อนสูงเกินไป จะทำให้พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลแตกออก ได้สารที่ไม่มีสมบัติของความเป็นโพลิเมอร์ต่อไป

การผลิตพลาสติกชนิดเทอร์โมเซตจะแตกต่างจากพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติกคือ ในขั้นตอนแรกต้องทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชันเพียงบางส่วน มีการเชื่อมโยงโมเลกุลเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย และยังสามารถหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงสามารถขึ้นรูปภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูงได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีรูปร่างตามต้องการแล้ว ให้คงอุณหภูมิไว้ประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้โครงสร้างแบบร่างแหที่เสถียรและแข็งแรง สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกจากแบบโดยไม่ต้องรอให้เย็น เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะแข็งตัวอยู่ภายในแม่พิมพ์ ดังนั้นการให้ความร้อนในกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมเซตกลับทำให้วัสดุแข็งขึ้น ต่างจากกระบวนการผลิตพลาสติกเทอร์โมพลาสติที่การให้ความร้อนจะทำให้พลาสติกนิ่ม และหลอมเหลว พลาสติกเทอร์โมเซตเมื่อใช้งานเสร็จแล้วไม่สามารถนำมาผ่านการหลอมและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือรีไซเคิล (recycle) ได้อีก และถ้าให้ความร้อนมากเกินไป จะทำให้พลาสติกเกิดการสลายตัวหรือไหม้ โดยไม่เกิดการหลอมเหลว ตัวอย่างของพลาสติกในกลุ่มนี้เช่น เบคเคอไลต์ และเมลามีน เป็นต้น

……………………………………………………………………………………..

สนใจฉีดพลาสติกติดต่อ

DEEMARK INDUSTRY CO., LTD

3/27 หมู่ 2 ซ.วัดศรีเรืองบุญ ถ.กาญจนาภิเษก

ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130

Phone: 02-985-1546, 081-844-8224

Fax: 02-984-1538

sukhumlee@hotmail.com

ฉีดพลาสติกกับ Deemark แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?

ฉีดพลาสติกกับ Deemark แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?

อะไหล่ขนาดเล็กฉีดพลาสติกได้หรือไหม ใครหลายคนสงสัยกันใช่ไหมคะ

ทำไมต้องฉีดพลาสติกกับดีมาร์ค เพราะว่า บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม ด้วยประสบการณ์ทำงานการฉีดพลาสติกในประเทศไทยและส่งออกมากกว่า 30 ปี เราสามารถผลิตผลงานพลาสติกได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เราสามารถทำงานพรินติ้ง,ซิลค์สกรีน,โลโก้,แพ็คกิ้ง เป็นต้น เราผลิตพลาสติกได้ครบทุกรูปแบบ รวมไปถึงการออกแบบต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติกและการผลิตชิ้นงานพลาสติก ด้วยการฉีดลูกค้าของเราจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับงานพลาสติกที่มีคุณภาพและเกิดความพึงพอใจสูงสุด

ที่ บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด เรากำลังมองหาลูกค้าที่มีความต้องการในการสร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเองเราพร้อมที่จะร่วมงานสร้างสรรค์ผลิตผลงานของท่านให้เป็นจริง ไม่เพียงแต่แค่แนวคิดแต่เรายังสามารถสร้างงานของท่านให้ออกมาเป็นชิ้นงานพลาสติกจริงได้ หากลูกค้ามีสินค้าที่ท่านต้องการจะผลิตเราสามารถสเก็ตภาพรวมไปถึงบอกปริมาณของวัตถุนั้นๆได้ ด้วยไอเดียและประสบการณ์ในการทำงานผลิตพลาสติกมากกว่า 30 ปี ระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานอยู่ที่ประมาณ 30-45 วัน สำหรับชิ้นงานไม่ใหญ่มาก และ 90-120 วัน สำหรับงานที่มีชิ้นใหญ่ เรามีผู้เชี่ยวชาญชำนาญในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับงานพลาสติกพร้อมที่จะผลิตผลงานนวัตกรรมใหม่ๆให้กับท่าน บริษัทของเราไม่เคยจำกัดจำนวนในการผลิตไม่ว่ามากหรือน้อย เพราะเราเข้าใจดีว่าทุกผลงานนั้นล้วนมีคุณค่าในตนเอง

จากปณิธานของผู้ก่อตั้งบริษัทที่ผลิตพลาสติกที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลส่งออก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คุณสุขุม ได้กล่าวไว้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราใส่ใจที่จะทำมันไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีคุณค่าในตนเองทุกสิ่งล้วนมีค่า ขอแค่คิดและสร้างสรรค์งานขึ้นมาเราสามารถช่วยท่านในการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นสู่สังคมและประเทศชาติได้

ฉีดพลาสติกเครื่องใช้สำนักงานนิยมใช้พลาสติกแบบไหน
ฉีดพลาสติกเครื่องใช้สำนักงานนิยมใช้พลาสติกแบบไหน

ประสบการณ์ในการทำงาน

บริษัทมีบุคลากรที่มีคุณภาพพร้อมประสบการณ์ในการทำงานมาอย่างยาวนานและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพ เรามั่นใจในคุณภาพที่เราผลิตชิ้นงานทุกชิ้น ลูกค้าต้องได้รับความพึงพอใจด้วยผลงานทุกผลงาน

รับผลิตชิ้นงานแบบไหน

รับฉีดพลาสติกชิ้นงานต่างๆ ถ้าเป็นงานพลาสติกบริษัทสามารถทำได้ทุกรูปแบบ เพียงแต่ลูกค้าต้องการให้ชิ้นงานออกมาในลักษณะไหน เพราะเราสามารถการันตีได้ว่าชิ้นงานทุกชิ้นที่ผลิตส่งออก ได้รับมาตรฐานและมีคุณภาพอย่างแน่นอน

เน้นการผลิตที่มีคุณภาพ

บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด ให้ความสำคัญกับทุกๆขั้นตอนของการผลิต การฉีดพลาสติก ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นเขียนแบบวางแผนจนถึงขั้นตอนการผลิตต่างๆ เรามีทีมงานเชี่ยวชาญคอยตรวจเช็คชิ้นงานทุกชิ้นให้มีความสมบูรณ์และคุณภาพที่ดี

ระยะเวลาในการผลิต

ในการผลิตชิ้นงานแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงาน ถ้าเป็นชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มากหนักระยะเวลาจะอยู่ที่ 30-45 วัน สำหรับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ระยะเวลาจะอยู่ที่ 90-120 วัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาที่ผลิตสำเร็จออกมาก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงาน

บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดพลาสติกทางเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญในการผลิตพลาสติกทุกขั้นตอนและในขั้นตอนการฉีดพลาสติก

ชนิดของพลาสติก

ชนิดของพลาสติก

         ชนิดของพลาสติก  ในการผลิตพลาสติกขึ้นมา ต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การทำแม่พิมพ์และการเลือกเม็ดพลาสติกให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ทำรวมไปถึงชนิดของพลาสติกต่างๆ ดังนี้เราควรมาเรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของพลาสติกต่างๆต่อไปนี้ 

  • PE : Polyethylene 
เป็นพลาสติกมีความเหนียว ทนกับความร้อนไม่ได้มากนัก ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย มีสีขุ่น ถูกนำมาผลิตชิ้นงาน เช่น  สายน้ำเกลือ ชิ้นส่วนรถยนต์ เชือก อวน แห ขวด 
  • PP : Polypropylene 
         เป็นพลาสติกทรงตัว คือสามารถบีบแล้วกลับมาคงอยู่ในสภาพเดิม อาทิเช่น ขันน้ำ ปกแฟ้มเอกสาร กล่องบรรจุอาหาร กับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับไมโครเวฟแต่ต้องเป็นเกรด PP-microwave โดยเฉพาะ
  • PS : Polystyrene 
         เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนัก ไม่สามารถดึงได้ เปราะบาง ยกตัวอย่างเช่น แก้วน้ำบนเครื่องบินและรถทัวร์ ส่วนมากถูกผลิตเป็นชิ้นงานแก้วใช้แล้วทิ้งเลย ไม้บรรทัด กล่องใส่ซีดี แต่ในบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานนั้นด้วย
  • SAN : styrene-acrylonitrile 
         เป็นพลาสติกตรงที่มีความแข็งแรง โปร่งใส  ถูกผลิตชิ้นงานเป็น เครื่องเขียนต่างๆ เช่น ปากกา เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในครัว เพราะมีความทนต่อแรงกระแทก
  • ABS : acryionitrile-butadiene-styrene
         เป็นพลาสติกที่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนมากผลิตมา ตลับหมึกในเครื่องปริ้นเตอร์ ไม่โปร่ง ขาวขุ่น  ใช้ผลิตเครสมือถือคีย์บอร์ดคอมคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับกลางแจ้งแต่ต้องเติมสาร anti-uv ได้ด้วย อาทิ เช่น  แผงคอนโซลหน้าของรถยนต์ หมวกกันน็อค อุปกรณ์ภายในรถยนต์
  • PVC : Polyvinylchloride
         เป็นพลาสติกที่มีความมัน อาทิเช่น ที่ใส่นามบัตร ไปผลิตเป็นที่บรรจุน้ำมัน ขวดน้ำมัน ถังบรรจุเคมีบางชนิด หรือถ้าเป็นชิ้นงานที่ทั่วไปคือ สายเคเบิ้ล บัตรเครดิต ท่อน้ำ หนังเทียม 
  • PET : Polyethylene terephthalate 
         ถ้านำมาผลิตเป็นชิ้นงาน ขวดน้ำ จะมีน้ำหนักเบา ไม่แตกเพราะมีความเหนียวและทนทาน มีความยืดหยุ่นกับแรงกระแทกและใส
  • POM : Polyoxymethylene
         เป็นพลาสติกไม่อมความชื้น เหนียว ทนกระแสไฟฟ้าได้ ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น กล่องสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไฟฟ้า โทรศัพท์
  • ABS:- Acrylonitride Butadiene Stylene มีลักษณะผิวเงางาม แข็งเหนียว ไม่ใส
  • PS :- HIPPS (high-impact Polystyrene) มีลักษณะแข็งเหนียว ไม่เปราะ ขุ่น กล่องใส่ซุปไก่ ถาดบรรจุต่างๆ
  • PP :- Homo-Polypropylene., มีลักษณะแข็ง ทรงตัวดี เช่น ถังน้ำ ขันน้ำ ปุ้งเต้า
  • PE :- HDPE (high density Polyethylene) ไม่ทรงตัว, ผิวไม่นิ่ม, กล่องอาหาร เปลือก battery รถยนต์
  • LDPE (low density Polyethylene) มีลักษณะไม่ทรงตัว, ผิวนิ่ม, เช่นฝาโก๋แก่, ฝากล่องปิ่นโต/tupper ware,
  • LLDPE (linear low density Polyethylene) มีลักษณะไม่ทรงตัว นิ่ม ฉีกขาดได้ง่าย
  • GPPS  (general-purpose Polystyrene) มีลักษณะแข็ง เปราะ ใส แก้วน้ำใส กล่องใส่ทุเรียนทอด
  • Copo-Polypropylene tadalafil 10mg., มีลักษณะที่เหนียวแข็ง ทรงตัว เช่น ฝาแชมพู ด้ามพลั่ว ฆ๊อนพลาสติค

         พลาสติกจะแยกย่อยออกไปได้หลายแขนง นี้คือส่วนหนึ่งของพลาสติกเท่านั้น ยังพลาสติกที่นำไปผลิตเป็นถุงใส่อาหาร ถุงหูหิ้วต่างๆ และการที่จะผลิตชิ้นงานมาได้นั้นต้องคำนึงถึงการใช้สอย รูปร่างลักษณะของการออกแบบ ว่าชิ้นงานนั้นๆเหมาะกับพลาสติกประเภทใด ในการผลิตแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในทุกๆด้าน  ไม่เพียงแค่ทราบถึงชนิดของพลาสติกเท่านั้น ควรให้ผู้ประกอบการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นงานพลาสติกแนะนำหรือให้คำปรึกษา เพื่อชิ้นงานที่ออกมามีคุณภาพ มาตรฐานที่ดีและราคาที่เหมาะสม

E-mail : sukhum@deemark.co.th

กระบวนการฉีดขึ้นรูป (Injection molding)

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

          แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก หลายๆท่านอาจยังสงสัยว่าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกทำงานอย่างไร ทำไมจึงผลิตชิ้นงานออกมาได้  ขออธิบายแบบง่ายๆ คือ ปกติตัววัตถุดิบตั้งต้นของพลาสติกจะมาเป็นรูปแบบของเม็ดพลาสติก ก่อนนำเม็ดพลาสติกมาเข้ากระบวนการขึ้นรูป เราต้องทำการไล่ความชื้นที่ตัวเม็ดพลาสติกเสียก่อน โดยการนำเม็ดไปอบที่อุณหภูมิหนึ่งเพื่อไล่ความชื้นออกจากตัวเม็ดพลาสติก (ระยะเวลาและอุณหภูมิจะแตกต่างไปตามชนิดของเม็ดพลาสติก)

          เมื่อเม็ดพลาสติกผ่านการอบเพื่อไล่ความชื้นแล้ว เราจึงนำไปใส่ในเครื่องฉีดพลาสติก ตัวของเครื่องฉีดพลาสติกจะมีส่วนของแผงให้ความร้อนอยู่ เพื่อทำให้พลาสติกเกิดการหลอมเหลว และตัวของกระบอกและสกรูเป็นตัวคลุกเคล้าเม็ดพลาสติกให้หลอมเหลวได้ดียิ่งขึ้น  เมื่อพลาสติกหลอมเหลวได้ดีเพียงพอแล้ว ก็จะเริ่มทำการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์

          ที่ส่วนปลายของสกรูฉีดพลาสติกจะเป็นที่ติดตั้งแม่พิมพ์ไว้ ส่วนปลายสุดของสกรูคือทางเข้าของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เนื้อพลาสติกที่หลอมเหลวจะถูกสกรูดันผ่านท่อทางที่ผู้ออกแบบแม่พิมพได้เตรียมไว้แล้ว พลาสติกจะไหลผ่านท่อทางเข้าสู่โพรงแบบ (Cavity) กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งพลาสติกหลอมเหลวเข้าไปเต็มโพรงแบบ สกรูของเครื่องฉีดจะดันย้ำอีกครั้งเพื่อเป็นการรักษาแรงดันภายในของเนื้อพลาสติกให้หนาแน่น และเป็นการป้องกันการหดตัวของพลาสติก

เมื่อพลาสติกเริ่มเย็นตัวและแข็งแรงเพียงพอ เครื่องฉีดจะเปิดเพื่อทำการปลดชิ้นงานออก ระบบการปลดนี้ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะปลดชิ้นงาน และจะต้องไม่ทำให้ชิ้นงานได้รับความเสียหายในระหว่างการปลดด้วย

E-mail : sukhum@deemark.co.th