รีไซเคิลในชีวิตประจำวัน กับ Deemark ฉีดพลาสติก - Deemarkthailand

รีไซเคิลในชีวิตประจำวัน

รีไซเคิลในชีวิตประจำวัน

ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญในยุคปัจจุบัน ในแต่ละวันมีของเหลือทิ้งเหลือใช้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก จนดูประหนึ่งว่าสักวันอาจจะเกิดการขยะล้นโลกก็เป็นได้ ในแต่ละประเทศมีขั้นตอนในการกำจัดขยะที่แตกต่างกัน บ้างฝังกลบ บ้างเผากำจัด ซึ่งแต่ละวิธีก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้แทบทั้งสิ้น ยิ่งในขยะที่มีสารพิษปลอมปนอยู่อาจจะถึงขั้นไปเช่าพื้นที่ในประเทศด้อยพัฒนา เพื่อฝังกลบขยะกันเลยทีเดียว  ขยะบางประเภทก็สร้างปัญหาให้มนุษย์ และโลกในระยะยาวเพราะไม่สามารถย่อยสลายลงได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วแต่ต้องใช้ เวลานานนับร้อยนับพันปีเพื่อการย่อยสลายเช่นพวกพลาสติกต่างๆ

จนกระทั่ง แนวคิดเกี่ยวกับการรีไซเคิล (Recycle)  และหรือรียูส (Reuse) ได้เกิดขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกในการลดขยะ หรือสิ่งเหลือใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะไม่ลดไปถึงขั้นที่ทำให้การกำจัดขยะเป็นไปได้อย่างมีเด็ดขาดแต่แนวคิด นี้ก็ช่วยส่งเสริมให้เกิดขยะใหม่ลดจำนวนลงได้มากทีเดียว

กระแสการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าเกี่ยวกับการรีไซเคิล-รียูส ตื่นตัวอย่างเต็มที่พร้อมๆกับเรื่องราวของความน่าสะพรึงกลัวของสภาวะโลกร้อน ซึ่งต้นตอปัญหามาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรานั้นเอง ดังนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ถูกสำหรับทางออกของสภาวะโลกร้อน ที่เหตุประการแรกคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของตัวเราเอง หลายสิ่งหลายอย่างที่เรากินใช้อยู่ในชีวิตประจำวันเราสามารถใช้ให้มีคุณค่า มากกว่าพฤติกรรมเดิมๆทั้งขวดน้ำพลาสติก กล่องนม บรรจุภัณฑ์ต่างๆ  สามารถนำมารีไซเคิลได้แทบทั้งสิ้น

รี ไซเคิล (Recycle)  เป็นการนำเศษวัสดุของเหลือกินเหลือใช้มาแปรรูปใหม่เพื่อนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ และนำกลับมาใช้ใหม่

ส่วนนิยามของคำว่ารียูส(Reuse) นั้นหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้น

ดังนั้นทั้งสองวิธีการจึงเป็นกระบวนการที่คล้ายคลึงกันและมีเป้าหมายอย่าง เดียวกันคือการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า ใช้อย่างมีความคิด  ในขั้นตอนกระบวนการการรีไซเคิลอาจจะยุ่งยากกว่าในทางกระบวนการที่ต้องมีการ ปรับปรุงพัฒนา และในวัสดุบางประเภทอาจจะต้องอาศัยงานโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่การรียูสนั้นเราสามารถทำได้เองไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน

เรื่องการรีไซเคิลหรือรียูสในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจจะหลงลืมกันไปบ้างเพราะความเร่งรีบและวิถีชีวิตที่รักความสะดวกสบายกันจนเคยตัว เรามาลองดูวิธีการต่างๆ เพื่อเตือนความจำกันสักหน่อย ว่าของเหลือใช้เหล่านี้เราสามารถนำมันไปใช้อะไรได้บ้าง  ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอน เราต้องเกี่ยวพันกับของกินของใช้มากมาย ชีวิตของเรายึดโยงอยู่กับสิ่งของเหล่านี้ ในทุกๆวันมีของเหลือใช้ที่ตกเป็นอันไร้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก เราในฐานะที่เป็นส่วนย่อยที่สุดของสังคม ถือเป็นกลไกหลักในการอนุรักษ์โลกซึ่งหากเราตั้งใจทำกันอย่างจริงจังก็จะ สามารถลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและลดปัญหาขยะลงได้มากทีเดียว
กระดาษ
อย่างแรกสุดคือกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นคนวัยเรียนวัยทำงาน ก็ต้องใช้กระดาษกันทั้งนั้นบ้างพิมพ์รายงานส่งอาจารย์หรือต้องทำรายงานส่ง หัวหน้า หรือแม้กระทั่งคนที่อยู่กับบ้านชีวิตก็ยังคงต้องเกี่ยวพันกับการใช้กระดาษใน รูปแบบต่างๆ ทั้งการอ่านหนังสือพิมพ์-นิตยสาร หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ของสินค้าประเภทต่างๆ ซองจดหมาย ใบปลิว ใบโฆษณา จิปาถะล้วนแต่ทำมาจากกระดาษโดยส่วนใหญ่เศษกระดาษเหล่านี้เมื่อไม่ได้ใช้งาน เราก็ทิ้งมันไปอย่างไม่แยแส

เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กระดาษได้ง่ายๆ โดยใช้กระดาษให้คุ้มค่าที่สุด ในกรณีกระดาษที่มีพื้นที่ในการใช้งานเหลือก็สามารถเก็บไว้ใช้เป็นกระดาษทด หรือนำไปปริ๊นซ์งานที่ไม่เป็นทางการมากนัก การใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าจะทำให้เราไม่ต้องตัดต้นไม้จำนวนมากในแต่ละปีเพื่อ นำมาผลิตเยื่อกระดาษ แม้กระทั่งกระดาษทิชชูที่ไปไหนมาต้องต้องพกติดตัวกันเสมอก็ลองเปลี่ยนมาพก ผ้าเช็ดหน้าแทนเผื่อมุขผ้าเช็ดหน้าหล่นจะกลับมาใช้ได้ใหม่ในยุคปัจจุบันนี้

การรีไซเคิลกระดาษ เพื่อนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษใหม่นั้นสามารถทำได้โดยการกำจัด หมึกที่ปนเปื้อนออกไปแล้วจึงนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษใหม่ ซึ่งจำต้องอาศัยต้นทุนและเยื่อกระดาษที่ได้ก็มีคุณภาพที่ลดลง

อะลูมิเนียม
พวกเครื่องดื่มกระป๋องต่างๆหรือ อาหารกระป๋องที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากอลูมิเนียม ขยะชนิดนี้ก็สามารถนำมารีไซเคิลได้ โดยปรกติแล้วขยะอลูมิเนียมหรือพวกอาหารกระป๋องพวกนี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ใหม่ตลอดโดยจะนำไปบดเป็นชิ้นเล็กๆก่อนจะนำกลับมาผลิตเป็นกระป๋องสำหรับบรรจุ อาหารใช้ใหม่อีกครั้ง  หรือจะนำไปผลิตเป็นขาเทียมตามที่เราเห็นกันอยู่ในโฆษณาจากหน้าจอทีวีก็ได้

พลาสติก
เป็นขยะอีกประเภทหนึ่งที่มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเสมอๆ อย่างเช่นขวดน้ำดื่ม หรือเครื่องดื่มที่บรรจุขวดพลาสติก  ถุงพลาสติก ขยะพวกพลาสติกสามารถนำมารีไซเคิลได้ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติกด้วย ว่าจะสามารถนำไปรีไซเคิลใช้งานในรูปแบบไหน

แก้ว
ขยะพวกนี้ เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ภาชนะจากแก้ว ขยะจากแก้วสามารถนำมารีไซเคิลได้โดยไม่ทำให้คุณสมบัติพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไป ยังสามารถคงคุณภาพเดิมไว้ได้ ผิดกับพวกพลาสติกที่เมื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้วคุณสมบัติการใช้งานจะลด ลง

แต่หากเราต้องการขยะจากผลิตภัณฑ์จากแก้วเพื่อปรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเราเอง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำไปผลิตใหม่ให้ยุ่งยากซึ่งออกจะดูเป็นเรื่องไกลตัวไปสำหรับเราผู้ใช้งาน เราก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทางซึ่งขึ้นอยู่กับไอเดียของแต่ละคน แต่เท่าทีเห็นมา ในพวกขวดกาแฟสามารถนำมาใส่ พวกเครื่องปรุงในครัวเรือนได้ เช่น น้ำตาล เกลือ ผงชูรสต่างๆ ผงซักฟอกหรือจะเอามาทำเป็นกระถางต้นไม้ไว้ปลูกดูเล่นก็ได้เช่นกัน

การใช้น้ำอย่างรู้ค่า

น้ำที่เหลือจากการล้างจานในน้ำสุดท้ายที่ไม่มีสารเคมี ตกค้างมากนักสามารถ นำมา ใช้รดน้ำต้นไม้ได้ หรือในวันฝนตก ลองหาตุ่มเล็กๆหรือกะละมังมารองน้ำฝนดูในชนบทยังมีบางทีบางแห่งที่ ยังนิยมดื่มน้ำฝนกันอยู่ ในขณะที่เขตอุตสาหกรรมไม่สามารถนำน้ำฝนมาบริโภคได้ เนื่องจากอาจจะมีสารตกค้างจากชั้นบรรยากาศ

การสร้างอุปนิสัยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามความจำเป็นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ ไฟดวงไหนไม่ใช้งาน โทรทัศน์วิทยุที่ไม่ได้ดูได้ฟังก็ปิดนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้วค่าไฟก็ลดลงด้วย

แต่หากใครขี้เกียจยุ่งยากเกี่ยวกับขยะอยากใช้แล้วทิ้งไปเก็บไว้ก็รกบ้านลอง ทำการแยกขยะดูเพราะการแยกขยะจะสามารถช่วยได้มากในขบวนการรีไซเคิลการแยกขยะ ที่เป็นระเบียบเรียบร้อยจะทำให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทันทีโดยไม่ต้องเสีย เวลาและค่าใช้จ่ายในการแยกขยะใหม่อีกครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้วการแยกขยะในบ้านเราดูเหมือนจะยังไม่ใส่ใจกันเท่าทีควร ทั้งภาครัฐและในประชาชนเอง มิหนำซ้ำบางทีพนักงานของกทม.ก็จับยัดรวมลงถุงเดียวกันอยู่ดี

อีกวิธีที่ถือว่าเป็นทางออกสำหรับขยะรีไซเคิลคือ การเก็บไว้ขายให้กับพวกบรรดาซาเล้งที่รับซื้อก็น่าจะสร้างรายได้เสริมได้ดีพอสมควร ใคร จะคิดว่าในปัจจุบันนี้ ขยะต่างๆเหล่านี้กลับกลายเป็นของมีราคา โดยมีมูลค่ารวมของของเหลือใช้จำพวกขวดพลาสติกอลูมิเนียมเหล่านี้รวมกันแล้ว กว่าหลักพันล้านบาทต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่มีร้านรับชื้อของเก่ารีไซเคิลมีอยู่มากมายทั่วมุมเมือง เมื่อซาเล้งนำไปขายให้กับร้านที่รับซื้อ พ่อค้าที่รับซื้อก็จะนำไปขายให้โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งจะเอาไปรีไซเคิลเพื่อนำ มาใช้ใหม่อีกทีอยู่ดี

ขยะจากครัวเรือนสร้างรายได้ต่อปีประมาณเกือบ 3 พันบาทเลยทีเดียวโดยราคาของเหลือใช้พวกนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภท ราคามีตั้งแต่กิโลละสลึงจนถึงขั้นว่ากันที่กิโลละร้อยเลยก็มี เช่น ทองแดง NO.1 เส้นใหญ่ปอกสวย  ราคาอยู่ทีกิโลละ 102 บาทจะว่าไปราคาประมาณเดียวกับเนื้อวัว-เนื้อหมู 1 กิโลกรัมเลยทีเดียว

ขยะไม่ใช่ของไร้ค่าโดยสิ้นเชิงอีกต่อไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้หลากหลายรูปแบบแล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน  หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถนำไปขายได้ราคาดี เฉพาะในกรุงเทพฯ ในแต่ละวันมีขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ถึง 9,500 ตันเลยทีเดียว ทั้งนี้มีการนำกลับมาขายให้ร้านรับซื้อของเก่าเพียงแค่วันละ 4,060 ตัน คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 19.6 ล้านบาทเลยทีเดียวในขณะที อีกเกือบ 5,500 ตันก็ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ และเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะที่ต้องเสียทั้งงบประมาณในการกำจัดและก่อในเกิด มลพิษกับสิ่งแวดล้อม

เรื่องเหล่านี่ มันเป็นเรื่องที่เราพบเจออยู่ทุกวัน และเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งต่างๆสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกแต่บ้างครั้งเราอาจจะหลงลืม และไม่ได้ใส่ใจเท่าทีควรจึงทำให้ปริมาณขยะต่างๆ และการอุปโภคปริโภคของเรายังคงเต็มไปด้วยต้นทุนที่เราต้องจ่ายจากสิ่งแวดล้อม แม้มันอาจจะยังไม่ส่งผลกระทบที่เลวร้ายในคนรุ่นเราแต่ใครจะรู้ในระยะยาวมัน อาจจะส่งผลกระทบที่หนักหนาสาหัสกว่านี้หลายเท่านักอย่างกรณีของน้ำฝนที่ไม่ สามารถใช้อุปโภคได้อีกต่อไปแล้วในเขตอุตสาหกรรมเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดเจน

การรีไซเคิล-รียูสถือเป็นการกระตุกกระตุ้นจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันในธรรมชาติโดย ถ้อยทีถ้อยอาศัยและเราในฐานะของปัจเจกชนผู้เป็นส่วนย่อยที่สุดในสังคมถือได้ ว่าเป็นจุดเริ่มที่สำคัญของกระบวนการ เริ่มกันเสียตั้งแต่วันนี้ แล้วจะรู้ว่ามนุษย์เราสามารถทำได้มากกว่าการใช้แล้วทิ้ง

ขอขอบพระคุณสาระน่ารู้ดีๆ http://guru.sanook.com/7968/