ประเภทของแม่พิมพ์พลาสติก

ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นในงานฉีดพลาสติก

ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นในงานฉีดพลาสติก

ฉีดพลาสติก ออกแบบพลาสติก รับฉีดพลาสติก

1. ความร้อนที่ใช้ในการหลอมเหลวพลาสติก ถ้าไม่มีความร้อนความชื้นก็ไม่สามารถออกจากเม็ดพลาสติกได้ นั้นก็คือความร้อนที่ใช้ในการหลอมเหลวพลาสติกมีผลต่อปริมาณความชื้นที่ออกมา
2. จุดน้ำค้าง จุดน้ำค้างคืออุณหภูมิที่ความชื้นในอากาศขนาดนั้นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ถ้าจุดน้ำค้างต่ำจะส่งผลให้ โมเลกุลความชื้นเกาะพื้นผิวของเม็ดพลาสติกมากขึ้น
3.  เวลาที่ใช้ในการอบเม็ดพลาสติก เม็ดพลาสติกที่ถูกอบจะไม่แห้งในทันที ช่วงแรกคุณจะต้องให้ความร้อนเพื่อให้โมเลกุลของน้ำเคลื่อนไหวอิสระ และต้องใช้เวลาพอสมควรเพื่อให้ความชื้นออกจากเม็ดพลาสติก
4. การเป่าลม ลมเป็นตัวแปรสำคัญเนื่องจากเป็นตัวพาความร้อนหรือลมร้อนแห้งผ่านเม็ดพลาสติกเพื่อไล่ความชื้นออก ในกรณีของเม็ดพลาสติกชนิดที่ไม่ดูดความชื้น คุณต้องบังคับทิศทางลมร้อน จากล่างชึ้นบนและผ่านพื้นที่ผิวของเม็ดพลาสติกให้มากที่สุดเพื่อลดความชื้นบริเวณพื้นผิว ซึ่งเป็นความชื้นส่วนใหญ่ที่เกิดกับเม็ดพลาสติกที่ไม่ดูดความชื้น สำหรับเม็ดพลาสติกที่ดูดความชื้นคุณต้องทำลมร้อนให้มีจุดน้ำค้างต่ำกว่าเม็ดพลาสติกเพื่อทำให้โมเลกุลของความชื้นหลุดออกจากโซ่โพลิเมอร์ ขึ้นมาที่พื้นผิวของเม็ดพลาสติกและอาศัยลมร้อนดึงความชื้นออกไป
ปริมาณการไหลของอากาศที่เข้าตู้อบจะต้องเพียงพอที่จะรักษาอุณหภูมิที่ต้องการภายในตู้อบ เช่นถ้าใช้เวลาอบสี่ชั่วโมงก็ต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ถ้าปริมาณลมลดลงอุณหภูมิภายในก็จะลดลงส่งผลถึงประสิทธิภาพในการอบได้
ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก, ฉีดพลาสติก จำนวนน้อย , ฉีดพลาสติก ราคาถูก

ไขความรู้กับพลาสติก ABS

ไขความรู้กับพลาสติก ABS

ไขความรู้กับพลาสติก abs เอบีเอส (ABS) เป็นชื่อย่อของ อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (acrylonitrile-butadiene-styrene) ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติก* ชนิดหนึ่ง เราพบและ “สัมผัส”พลาสติกชื่อเหมือนระบบเบรกของรถยนต์ชนิดนี้ได้บ่อยมากอย่างไม่ทันสังเกต เนื่องจากมันเป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดที่ใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่สินค้าไฮเทคอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ไดร์เป่าผมเรื่อยไปจนกระทั่งของเด็กเล่นอย่างตัวต่อเลโก้ (lego) เป็นต้น เพราะว่าพลาสติกชนิดนี้ถูกใช้เป็นวัสดุสำหรับตัวกล่อง (case) หรือตัวสินค้าภายนอกนั่นเอง แล้วพลาสติกชนิดนี้มีสมบัติหรือความโดดเด่นในด้านใดบ้าง?

<img class=”size-full wp-image-4657 aligncenter” src=”https://www.deemarkthailand.com/wp-content/uploads/2016/12/ABS-resin-pellet-30-glass-fiber-reinforced.jpg” alt=”ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก ” width=”425″ height=”302″ srcset=”http://www Web Site.deemarkthailand.com/wp-content/uploads/2016/12/ABS-resin-pellet-30-glass-fiber-reinforced.jpg 425w, https://www.deemarkthailand.com/wp-content/uploads/2016/12/ABS-resin-pellet-30-glass-fiber-reinforced-300×213.jpg 300w” sizes=”(max-width: 425px) 100vw, 425px” />

สมบัติของพลาสติก
โดยทั่วไปพลาสติกที่มีความแข็ง จะมีลักษณะแข็งแต่เปราะ หรือหากมีสมบัติแข็งเหนียวก็จะมีลักษณะอ่อนนิ่มร่วมด้วย แต่เอบีเอสแตกต่างจากพลาสติกทั่วไป เพราะเป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องความแข็ง (hardness) และความเหนียว (toughness) ทำให้พลาสติกมีสมบัติทนแรงกระแทก (impact resistance) ดี นอกจากนี้เอบีเอสยังมีสมบัติเด่นอีกหลายเรื่อง เช่น ทนต่อแรงเสียดสี (abrasion) คงสภาพรูปร่างได้ดี (dimension stability) ทนความร้อน ทนสารเคมี มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง (ตั้งแต่ -20 ?C -80 ?C) และสามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายวิธี

โครงสร้างกับสมบัติทางกายภาพ
เอบีเอสเป็นเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาการเกิดโพลิเมอร์ของโมโนเมอร์ 3 ชนิด คือ สไตรีน (styrene) อะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) และโพลิบิวทาไดอีน (polybutadiene) ซึ่งโพลิเมอร์ที่ได้จากโมโนเมอร์ 3 ชนิดเรียกว่า เทอร์โพลิเมอร์ (terpolymer) โมโนเมอร์แต่ละชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสังเคราะห์เอบีเอสขึ้นมานั้น ล้วนมีผลต่อสมบัติของพลาสติกทั้งสิ้น อะคริโลไนไตรล์มีผลต่อสมบัติการทนความร้อนและสารเคมี  บิวทาไดอีนมีผลต่อสมบัติความทนทานต่อแรงกระแทก (impact strength) และสไตรีนมีผลทำให้พลาสติกมีพื้นผิวเป็นมันเงา ตัดแต่งวัสดุได้ง่าย และช่วยลดต้นทุน
เนื่องจากเอบีเอสเป็นพลาสติกที่ได้จากการนำโมโนเมอร์ 3 ชนิดมาผลิต ดังนั้นผู้ผลิตเอบีเอสจึงสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของโมโนเมอร์ทั้งสามชนิดเพื่อให้ได้สมบัติอย่างที่ต้องการ ซึ่งเอบีเอสที่จำหน่ายในท้องตลาดจะประกอบด้วยอะคริโลไนไตรล์ประมาณ 15-30 % โพลิบิวทาไดอีน ประมาณ 5-30% และสไตรีนประมาณ 45-75%

ซึ่งพลาสติก abs สามารถนำมาช่วยประยุกต์ทำได้หลายอย่าง

รถยนต์
พลาสติกที่จะนำมาใช้ในรถยนต์มักถูกกำหนดเกณฑ์เรื่องคุณภาพไว้ค่อนข้างสูง โดยพลาสติกต้องมีสภาพหรือรูปร่างดีไม่โก่งงอหรือบิดตัวในสภาวะที่มีความเค้น (stress) หรือสภาพที่ต้องเผชิญการเปลี่ยนอุณหภูมิช่วงกว้าง ซึ่งเอบีเอสมีสมบัติต่าง ๆ สูง จึงรองรับสภาพการใช้งานในรถยนต์ได้ดี

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ความต้องการเรื่องวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากอุตสาหกรรมรถยนต์ วัสดุที่ใช้เป็นโครงภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้านอกจากจะต้องมีความแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วน (scratch) และการเสียดสี (wear) ดีแล้วยังต้องมีความสวยงาม เช็ดทำความสะอาดง่าย และไม่เกิดไฟฟ้าสถิตซึ่งเอบีเอสสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้

เครื่องใช้สำนักงาน
เครี่องใช้อุปกรณ์สำนักงานต้องการแบบที่ดูดีและมีสีสันสวยงาม ซึ่งเอบีเอสสามารถตอบสนองได้ดีเนื่องจากผสมสีสันได้หลากหลาย และบางเกรดก็สามารถนำมาชุบเคลือบด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ได้ผิวแวววาวเหมือนโลหะ อีกทั้งสามารถเลือกใช้กระบวนการขึ้นรูปเพื่อให้ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์มีพื้นผิวเป็นมันเงา หรือเรียบด้านแล้วแต่ความต้องการ

ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก, ฉีดพลาสติก จำนวนน้อย , ฉีดพลาสติก ราคาถูก

7 ประเภทของพลาสติกมีอะไรบ้าง?

7 ประเภทของพลาสติกมีอะไรบ้าง?

7 ประเภทของพลาสติกมีอะไรบ้าง?

7 ประเภทของพลาสติกมีอะไรบ้าง?ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคม อุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยม กลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆดังนี้

พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท

 1 . พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE) เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมา รีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น

 2 . พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE) เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น

3.พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำ สำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น

 4. พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี (LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น

 5 . พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและ กรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น

 6 . พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้

 7.นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้

ฉีดพลาสติกกับ "Deemark" ดีอย่างไรง ฉีดพลาสติก - Deemarkthailand

พลาสติกรีไซเคิล พลาสติกกับสิ่งแวดล้อม

พลาสติกรีไซเคิล พลาสติกกับสิ่งแวดล้อม

ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก ใช้พลาสติกอย่างไรให้ปลอดภัย ฉีดกับ Deemark

พลาสติกรีไซเคิล

พลาสติกเป็นวัสดุที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นเพราะใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้และเหล็กได้เป็นอย่างดี และมีราคาถูก น้ำหนักเบาสามารถผลิตให้มีสมบัติต่างๆ ตามที่ต้องการได้จากการเลือกชนิดของวัตถุดิบ ปฏิกิริยาเคมี กระบวนการผลิตและกระบวนการขึ้นรูป นอกจากนี้ยังสามารถปรุงแต่งสมบัติได้ง่ายโดยการเติมสารเติมแต่ง (Additives) เช่น สารเสริมสภาพพลาสติก (Plasticizer) สารปรับปรุงคุณภาพ (Modifier) สารเสริม (Filler) สารคงสภาพ (Stabilizer) สารยับยั้งปฏิกิริยา (Inhibitor) สารหล่อลื่น (Lubricant) และผงสี (Pigment) เป็นต้น

ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า และทันสมัยในปัจจุบันทำให้เรามีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายรูปแบบ และสีสันให้เลือกใช้อย่างมากมาย ด้วยสมบัติที่โดดเด่นหลายด้านทำให้พลาสติกได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วและมีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดขยะพลาสติกในปริมาณสูงมากขึ้นตามด้วย ดังนั้นการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่หรือการ รีไซเคิลจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าอีกด้วย การพัฒนาทางเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้การรีไซเคิลพลาสติกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี โดยแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก คือ การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ (Primary recycling) การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ (Secondary recycling) การ รีไซเคิลแบบตติยภูมิ (Tertiary recycling) และการ รีไซเคิลแบบจตุภูมิ (Quaternary recycling)

  1. การรีไซเคิลแบบปฐมภูมิ

    เป็นการนำขวดหรือเศษพลาสติกที่เป็นประเภทเดียวกันและไม่มีสิ่งปนเปื้อน ที่เกิดในกระบวนการผลิตหรือขึ้นรูปกลับมาใช้ซ้ำภายในโรงงาน โดยสามารถนำมาใช้ซ้ำทั้งหมดหรือเติมผสมกับเม็ดใหม่ที่อัตราส่วนต่างๆ

  2. การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิ

    การรีไซเคิลแบบทุติยภูมิหรือกระบวนการหลอมขึ้นรูปใหม่ เป็นการนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำความสะอาด บด หลอมและขึ้นรูปกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง การรีไซเคิลแบบทุติยภูมินี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายเทคนิค คือ

  • การรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical recycling)

    เป็นเทคนิคที่ง่ายและนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยการเก็บพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาคัดแยกตามประเภท และสีมาล้างทำความสะอาดก่อนนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ และหลอมเป็นเม็ดพลาสติกเกรดสองหรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนำมาผสมกับเม็ดใหม่เพื่อให้ได้สมบัติที่ต้องการก่อนนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูป โดยคุณภาพของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลนี้จะเป็นตัวกำหนดการนำไปใช้งานและปริมาณการผสมที่ต้องการ ปัญหาในกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกคือหลังจากผ่านกระบวนการรีไซเคิลในแต่ละครั้งพลาสติกจะมีคุณภาพต่ำลงปฏิกิริยาการขาดของสายโซ่โมเลกุลของ ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด และมีราคาถูกลงเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่คุ้มต่อการลงทุน สาเหตุที่สำคัญเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก ฉลากเล็กๆ หรือ เศษกาวทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีสีเข้มขึ้นหรือ มีความใสลดลง นอกจากนี้ความชื้นในพลาสติก และความร้อนที่ใช้ในการหลอมพลาสติกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสลายตัว หรือเกิดการขาดของสายโซ่โมเลกุลของโพลิเมอร์ที่ใช้ทำพลาสติก ทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีสีเหลือง และมีสมบัติเชิงกลลดลงด้วย

  • การปรับปรุงโดยวิธีทางเคมี (Chemical modification)

    เนื่องจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีข้อจำกัดในด้านสมบัติ การขึ้นรูปและการใช้งาน ดังนั้น การปรับปรุงโดยวิธีการทางเคมีจะช่วยลดข้อจำกัดดังกล่าวหรือทำให้เม็ดรีไซเคิลมีลักษณะใกล้เคียงกับเม็ดใหม่ได้ การปรับปรุงนี้สามารถใช้ได้กับทั้งพลาสติกชนิดเดียวหรือพลาสติกผสม ถ้าเป็นพลาสติกชนิดเดียวก็จะใช้การเติมสารเคมีหรือใช้วิธีการผ่านด้วยรังสี แต่ถ้าเป็นพลาสติกผสมมักใช้สารช่วยในการผสมให้เข้ากันที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Compatibilizer

  • การหลอมอัดรีดร่วมและการฉีดร่วม (Coextrusion and Coinjection moulding)

    เป็นอีกเทคนิคหนึ่งของการรีไซเคิลแบบทุติยภูมิซึ่งเหมาะสำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับอาหาร ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้จากกระบวนการนี้จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นชั้นๆ เหมือนแซนด์วิช โดยที่ผิวหน้าเป็นชั้นที่ผลิตจากพลาสติกใหม่ซึ่งมีความต้านทานต่อแรงดึงสูง ป้องกันการขีดข่วนได้ดีและมีสีสันน่าใช้ ส่วนชั้นกลางเป็นชั้นของพลาสติกรีไซเคิล

ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก ออกแบบพลาสติก

การรีไซเคิลแบบตติยภูมิ

การรีไซเคิลแบบตติยภูมิแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การรีไซเคิลทางเคมีและทางความร้อน

  • การรีไซเคิลทางเคมี (chemical recycling)

    เป็นกระบวนการที่ทำให้โครงสร้างสายโซ่ของพอลิเมอร์เกิดการขาดหรือแตกออก (Depolymerisation) ได้มอนอเมอร์ (Monomer) หรือโอลิโกเมอร์ (Oligomer) เป็นผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาทำให้บริสุทธิ์โดยการกลั่นและตกผลึกได้เป็นสารตั้งต้นที่มีคุณภาพสูงซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นเพทได้ใหม่

  • การรีไซเคิลทางความร้อน (Thermolysis)

    โครงสร้างของเพทสามารถเกิดการแตกหรือขาดได้โดยใช้ความร้อน เรียกว่า Thermolysis แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี คือ แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis )แบบใช้ออกซิเจน (Gasification) และ การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation)

    Pyrolysis เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการแตกออกโดยใช้ความร้อนแบบไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการควบแน่นเป็น ของเหลวที่เรียกว่า น้ำมันดิบสังเคราะห์ (Synthetic crude oil) สามารถนำกลับไปใช้ในโรงกลั่นและส่วนที่ไม่เกิดการควบแน่นจะถูกนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อนภายในกระบวนการ

    Gasification เป็นกระบวนการที่ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์ของเพทเกิดการแตกออกโดยใช้ความร้อนแบบใช้ออกซิเจน กระบวนการนี้เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูงกว่า Pyrolysis ผลลัพธ์ที่ได้คือ Syngas ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง แต่ถ้าทำการแยกก่อนนำมาใช้ในรูปของสารเคมีจะมีมูลค่าสูงขึ้น 2 – 3 เท่า

    Hydrogenation เป็นเทคนิคที่ปรับปรุงมาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันแบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โดยสายโซ่พอลิเมอร์ของเพทจะถูกทำให้แตกหรือขาดออกจากกันด้วยความร้อนและสัมผัสกับไฮโดรเจนที่มากเกินพอที่ความดันสูงกว่า 100 บรรยากาศ จนเกิดปฏิกิริยาแตกตัว (Cracking) และเกิดการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) อย่างสมบูรณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงเหลว เช่น น้ำมันแก็สโซลีนหรือดีเซล

    กระบวนการรีไซเคิลทางความร้อนถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์และคุ้มค่ากว่าการรีไซเคิลทางเคมีเพราะสามารถจัดการขยะที่เป็นพลาสติกผสมที่มีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่ไม่ใช่พลาสติกได้ ในขณะที่การรีไซเคิลทางเคมีต้องใช้พลาสติกที่มีความสะอาดค่อนข้างสูงและมีการผสมหรือปนเปื้อนได้เพียงเล็กน้อย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมวัตถุดิบสูง อย่างไรก็ตามพลาสติกเพทที่จะนำมารีไซเคิลทางความร้อนก็ควรมีการคัดขนาดหรือกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกบ้าง


    4. การรีไซเคิลแบบจตุภูมิ

    พลาสติกสามารถนำมาเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยการเผาไหม้ของพลาสติกให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับถ่านหิน (23 MJ/kg) ช่วยในการเผาไหม้ส่วนที่เป็นขยะเปียก ทำให้ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการเผาขยะ

แม้ว่าทุกวันนี้การรีไซเคิลพลาสติกยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การนำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมารีไซเคิลใช้ซ้ำจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรารักษาความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้ ซึ่งอีกไม่นานเราก็จะก้าวข้ามเข้าสู่ศตวรรษใหม่ที่วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ จะได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น คนแห่งศตวรรษใหม่อาจต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับพลาสติก เมื่อพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วในศตวรรษหน้าไม่ได้กลายเป็นขยะอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นทรัพยากรสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การขึ้นรูปโดยการฉีดพลาสติก กร็ดความรู้เกี่ยวกับการฉีดพลาสติก

ประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้

ประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้

ประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้

ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก ออกแบบพลาสติก
ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก ออกแบบพลาสติก

โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งกลไกการย่อยสลายของพลาสติกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การย่อยสลายได้โดยแสง (Photodegradation) การย่อยสลายโดยแสงมักเกิดจากการเติมสารเติมแต่งที่มีความว่องไวต่อแสงลงในพลาสติกหรือสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ให้มีหมู่ฟังก์ชันหรือพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรง แตกหักง่ายภายใต้รังสี (UV) เช่น หมู่คีโตน (Ketone group) อยู่ในโครงสร้าง เมื่อสารหรือหมู่ฟังก์ชันดังกล่าวสัมผัสกับรังสียูวีจะเกิดการแตกของพันธะกลายเป็นอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งไม่เสถียร จึงเข้าทำปฏิกิริยาต่ออย่างรวดเร็วที่พันธะเคมีบนตำแหน่งคาร์บอนในสายโซ่พอลิเมอร์ ทำให้เกิดการขาดของสายโซ่ แต่การย่อยสลายนี้จะไม่เกิดขึ้นภายในบ่อฝังกลบขยะ กองคอมโพสท์ หรือสภาวะแวดล้อมอื่นที่มืด หรือแม้กระทั่งชิ้นพลาสติกที่มีการด้วยหมึกที่หนามากบนพื้นผิว เนื่องจากพลาสติกจะไม่ได้สัมผัสกับรังสียูวีโดยตรง
  2. การย่อยสลายทางกล (Mechanical Degradation) โดยการให้แรงกระทำแก่ชิ้นพลาสติกทำให้ชิ้นส่วนพลาสติกแตกออกเป็นชิ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปในการทำให้พลาสติกแตกเป็นชิ้นเล็กๆ
  3. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Degradation) การย่อยสลายผ่าน)ฏิกิริยาออกซิเดชันของพลาสติก เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของพอลิเมอร์ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติอย่างช้าๆ โดยมีออกซิเจน และความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญ เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์ (hydroperoxide, ROOH) ในพลาสติกที่ไม่มีการเติม สารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มความเสถียร (stabilizing additive) แสงและความร้อนจะทำให้ ROOH แตกตัวกลายเป็นอนุมูลอิสระ RO และ OH) ที่ไม่เสถียรและเข้าทำปฏิกิริยาต่อที่พันธะเคมีบนตำแหน่งคาร์บอนในสายโซ่พอลิเมอร์ ทำให้เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้นในปัจจุบันทำให้พอลิโอเลฟินเกิดการย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันกับออกซิเจนได้เร็วขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนด โดยการเติมสารเติมแต่งที่เป็นเกลือของโลหะทรานสิชัน ซึ่งทำหน้าที่คะตะลิสต์เร่งการแตกตัวของสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์ (Hydroperoxpide, ROOH) เป็นอนุมูลอิสระ (Free radical) ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลรวดเร็วยิ่งขึ้น
  4. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic Degradation) การย่อยสลายของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ หรือเอไมด์ เช่น แป้ง พอลิเอสเทอร์ พอลิแอนไฮดรายด์ พอลิคาร์บอเนต และพอลิยูริเทน ผ่านปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์ ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้คะตะลิสต์ (Catalytic hydrolysis) และไม่ใช้คะตะลิสต์ (Non-Catalytic Hydrolysis) ซึ่งประเภทแรกยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบที่ใช้คะตะลิสต์จากภายนอกโมเลกุลของพอลิเมอร์เร่งให้เกิดการย่อยสลาย (External Catalytic Degradation) และแบบที่ใช้คะตะลิสต์จากจากภายในโมเลกุลของพอลิเมอร์เองในการเร่งให้เกิดการย่อยสลาย (Internal catalytic degradation) โดยคะตะลิสต์จากภายนอกมี 2 ชนิด คือ คะตะลิสต์ที่เป็นเอนไซม์ต่างๆ (Enzyme) เช่น Depolymerase lipase esterase และ glycohydrolase ในกรณีนี้จัดเป็นการย่อยสลายทางชีวภาพ และคะตะลิสต์ที่ไม่ใช่เอนไซม์ (Non-enzyme) เช่น โลหะแอลคาไลด์ (alkaline metal) เบส (base) และกรด(acid) ที่มีอยู่ในสภาวะแวดล้อมในธรรมชาติ ในกรณีนี้จัดเป็นการย่อยสลายทางเคมี สำหรับปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสแบบที่ใช้คะตะลิสต์จากภายในโมเลกุลของพอลิเมอร์นั้นใช้หมู่คาร์บอกซิล(Carboxyl Group) ของหมู่เอสเทอร์ หรือเอไมด์บริเวณปลายของสายโซ่พอลิเมอร์ในการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายผ่าปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
  5. การย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation) การย่อยสลายของพอลิเมอร์จากการทำงานของจุลินทรีย์โดยทั่วไปมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน เนื่องจากขนาดของสายพอลิเมอร์ยังมีขนาดใหญ่และไม่ละลายน้ำ ในขั้นตอนแรกของของการย่อยสลายจึงเกิดขึ้นภายนอกเซลล์โดยการปลดปล่อยเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ซึ่งเกิดได้ทั้งทั้งแบบใช้ endo-enzyme หรือ เอนไซม์ที่ทำใหเกิดการแตกตัวของพันธะภายในสายโซ่พอลิเมอร์อย่างไม่เป็นระเบียบ และแบบ exo-enzyme หรือเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการแตกหักของพันธะทีละหน่วยจากหน่วยซ้ำที่เล็กที่สุดที่อยู่ด้านปลายของสายโซ่พอลิเมอร์ เมื่อพอลิเมอร์แตกตัวจนมีขนาดเล็กพอจะแพร่ผ่านผนังเซลล์เข้าไปในเซลล์ และเกิดการย่อยสลายต่อในขั้นตอนที่ 2 ได้ผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้าย (ultimate biodegradation) คือ พลังงาน และสารประกอบขนาดเล็กที่เสถียรในธรรมชาติ (Mineralization) เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน น้ำ เกลือ แร่ธาตุต่างๆ และมวลชีวภาพ (biomass)*มวลชีวภาพหมายถึง มวลรวมของสสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการในการดำรงชีวิตและเติบโตของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ และจุลินทรีย์

    นอกจากนี้ยังพบว่า มีการใช้คำว่า พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ (Environmentally Degradable Plastics, EDP) ซึ่งหมายถึง พลาสติกที่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ในสภาวะแวดล้อม เช่น กรด ด่าง น้ำ และออกซิเจนในธรรมชาติ แสงจากดวงอาทิตย์ แรงเค้นจากการกระทบของเม็ดฝนและแรงลม หรือจากเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี กลายเป็นสารที่ถูกดูดซึม และย่อยสลายต่อได้อย่างสมบูรณ์โดยจุลินทรีย์ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารอนินทรีย์ และมวลชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย โดยการย่อยสลายและการดูดซึมนี้ต้องเกิดขึ้นได้รวดเร็วเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการสะสมในสภาวะแวดล้อม และคำว่า พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม (Environmental Friendly Plastics) หรือ พลาสติกสีเขียว (Green Plastics) หมายถึง พลาสติกที่ทำให้ภาระในการจัดการขยะลดลง และส่งผลกระทบโดยรวมต่อสภาวะแวดล้อมน้อยกว่าพลาสติกที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

พลาสติกคืออะไร ฉีดพลาสติก รับฉีดพลาสติก Deemarkthailand

ชนิดของเม็ดพลาสติก

ชนิดของเม็ดพลาสติก

11 ปัญหาที่เกิดจากการฉีดพลาสติกขึ้นรูปมีอะไรบ้างDeemarkมีคำตอบให้

ชนิดของพลาสติก พลาสติกที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งออกได้ 7 ชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดจะระบุเป็นตัวเลข 1-7 ภายในเครื่องหมายลูกศรสามเหลี่ยมให้คนสามารถดูได้ เช่น หากเป็นขวดหรือน้ำดื่มก็จะอยู่ด้านล่างสุดของขวด

ชนิดที่ 1 เป็น พีอีทีอี (PETE) ชื่อเต็ม คือ polyethylene terephthalate ethylene เป็นพลาสติกใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด และ อาหารบางชนิด
 
ชนิดที่ 2 เป็น เอชดีพีอี (HDPE) ชื่อเต็มคือ high density polyethylene เป็นพลาสติกสีทึบ ใช้บรรจุนมสด น้ำดื่ม น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า แชมพู ขวดยา และถุงพลาสติก
 
ชนิดที่ 3 เป็นพีวีซี (PVC) เป็นชื่อย่อของ polyvinyl chloride ใช้เป็นพลาสติกสำหรับห่อหุ้ม เชือกพลาสติก เป็นขวดบรรจุชนิดบีบ มักจะใช้บรรจุน้ำมันพืช น้ำมันซักผ้า น้ำยาเช็ดกระจก ที่ใช้กันมากคือ ถุงหิ้วที่ใช้ใส่ของกันตามร้านค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ
 
ชนิดที่ 4 เป็นแอลดีพีอี (LDPE) ชื่อเต็มเป็น low density polyethylene ใช้เป็นถุงหิ้ว ใช้ห่อหุ้ม ขวดพลาสติกบางชนิด และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นใส่อาหาร ขนม กาแฟเย็น ชาเย็น
 
 ชนิดที่ 5 เป็นพีพี (PP) ชื่อเต็มคือ polypropylene ใช้เป็นยางลบ ใช้ บรรจุภาชนะไซรัป โยเกิร์ต หลอดดูด ขวดนมเด็ก ถุงร้อนใช้สำหรับบรรจุอาหารร้อน เช่น ก๋วยเตี๋ยว กาแฟร้อน เป็นถ้วยกาแฟ ชา ชนิดใช้แล้วทิ้ง
 
ชนิดที่ 6 เป็นพอลีสไตรีน (polystyrene) เป็นพลาสติกที่ใช้เรียกทั่วไปว่าโฟม ใช้บรรจุรองรับการกระแทกพวกอุปกรณ์ ตู้เย็น วิทยุ วิทยุ โทรทัศน์ฯลฯ ในกล่องกระดาษอีกที ใช้ทำกล่องสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่า ข้าวกล่อง ที่ใส่ไข่ ถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง ช้อน ส้อม มีดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง
 
 ชนิดที่ 7 เป็นชนิดอื่นๆ เช่น พอลีคาร์บอนเนต (polycarbonate) ทำเป็นขวดน้ำ เหยือกน้ำ ขวดนม ขวดน้ำบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ใช้บุกระป๋องโลหะสำหรับใส่อาหาร เป็นถ้วยใส ช้อนส้อม มีดชนิดใส
บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการฉีดพลาสติกทางเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญในการผลิตพลาสติกทุกขั้นตอนและในขั้นตอนการฉีดพลาสติก

ชนิดของพลาสติก

ชนิดของพลาสติก

         ชนิดของพลาสติก  ในการผลิตพลาสติกขึ้นมา ต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การทำแม่พิมพ์และการเลือกเม็ดพลาสติกให้เหมาะสมกับชิ้นงานที่ทำรวมไปถึงชนิดของพลาสติกต่างๆ ดังนี้เราควรมาเรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของพลาสติกต่างๆต่อไปนี้ 

  • PE : Polyethylene 
เป็นพลาสติกมีความเหนียว ทนกับความร้อนไม่ได้มากนัก ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย มีสีขุ่น ถูกนำมาผลิตชิ้นงาน เช่น  สายน้ำเกลือ ชิ้นส่วนรถยนต์ เชือก อวน แห ขวด 
  • PP : Polypropylene 
         เป็นพลาสติกทรงตัว คือสามารถบีบแล้วกลับมาคงอยู่ในสภาพเดิม อาทิเช่น ขันน้ำ ปกแฟ้มเอกสาร กล่องบรรจุอาหาร กับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับไมโครเวฟแต่ต้องเป็นเกรด PP-microwave โดยเฉพาะ
  • PS : Polystyrene 
         เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนัก ไม่สามารถดึงได้ เปราะบาง ยกตัวอย่างเช่น แก้วน้ำบนเครื่องบินและรถทัวร์ ส่วนมากถูกผลิตเป็นชิ้นงานแก้วใช้แล้วทิ้งเลย ไม้บรรทัด กล่องใส่ซีดี แต่ในบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานนั้นด้วย
  • SAN : styrene-acrylonitrile 
         เป็นพลาสติกตรงที่มีความแข็งแรง โปร่งใส  ถูกผลิตชิ้นงานเป็น เครื่องเขียนต่างๆ เช่น ปากกา เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในครัว เพราะมีความทนต่อแรงกระแทก
  • ABS : acryionitrile-butadiene-styrene
         เป็นพลาสติกที่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนมากผลิตมา ตลับหมึกในเครื่องปริ้นเตอร์ ไม่โปร่ง ขาวขุ่น  ใช้ผลิตเครสมือถือคีย์บอร์ดคอมคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับกลางแจ้งแต่ต้องเติมสาร anti-uv ได้ด้วย อาทิ เช่น  แผงคอนโซลหน้าของรถยนต์ หมวกกันน็อค อุปกรณ์ภายในรถยนต์
  • PVC : Polyvinylchloride
         เป็นพลาสติกที่มีความมัน อาทิเช่น ที่ใส่นามบัตร ไปผลิตเป็นที่บรรจุน้ำมัน ขวดน้ำมัน ถังบรรจุเคมีบางชนิด หรือถ้าเป็นชิ้นงานที่ทั่วไปคือ สายเคเบิ้ล บัตรเครดิต ท่อน้ำ หนังเทียม 
  • PET : Polyethylene terephthalate 
         ถ้านำมาผลิตเป็นชิ้นงาน ขวดน้ำ จะมีน้ำหนักเบา ไม่แตกเพราะมีความเหนียวและทนทาน มีความยืดหยุ่นกับแรงกระแทกและใส
  • POM : Polyoxymethylene
         เป็นพลาสติกไม่อมความชื้น เหนียว ทนกระแสไฟฟ้าได้ ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น กล่องสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไฟฟ้า โทรศัพท์
  • ABS:- Acrylonitride Butadiene Stylene มีลักษณะผิวเงางาม แข็งเหนียว ไม่ใส
  • PS :- HIPPS (high-impact Polystyrene) มีลักษณะแข็งเหนียว ไม่เปราะ ขุ่น กล่องใส่ซุปไก่ ถาดบรรจุต่างๆ
  • PP :- Homo-Polypropylene., มีลักษณะแข็ง ทรงตัวดี เช่น ถังน้ำ ขันน้ำ ปุ้งเต้า
  • PE :- HDPE (high density Polyethylene) ไม่ทรงตัว, ผิวไม่นิ่ม, กล่องอาหาร เปลือก battery รถยนต์
  • LDPE (low density Polyethylene) มีลักษณะไม่ทรงตัว, ผิวนิ่ม, เช่นฝาโก๋แก่, ฝากล่องปิ่นโต/tupper ware,
  • LLDPE (linear low density Polyethylene) มีลักษณะไม่ทรงตัว นิ่ม ฉีกขาดได้ง่าย
  • GPPS  (general-purpose Polystyrene) มีลักษณะแข็ง เปราะ ใส แก้วน้ำใส กล่องใส่ทุเรียนทอด
  • Copo-Polypropylene tadalafil 10mg., มีลักษณะที่เหนียวแข็ง ทรงตัว เช่น ฝาแชมพู ด้ามพลั่ว ฆ๊อนพลาสติค

         พลาสติกจะแยกย่อยออกไปได้หลายแขนง นี้คือส่วนหนึ่งของพลาสติกเท่านั้น ยังพลาสติกที่นำไปผลิตเป็นถุงใส่อาหาร ถุงหูหิ้วต่างๆ และการที่จะผลิตชิ้นงานมาได้นั้นต้องคำนึงถึงการใช้สอย รูปร่างลักษณะของการออกแบบ ว่าชิ้นงานนั้นๆเหมาะกับพลาสติกประเภทใด ในการผลิตแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในทุกๆด้าน  ไม่เพียงแค่ทราบถึงชนิดของพลาสติกเท่านั้น ควรให้ผู้ประกอบการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นงานพลาสติกแนะนำหรือให้คำปรึกษา เพื่อชิ้นงานที่ออกมามีคุณภาพ มาตรฐานที่ดีและราคาที่เหมาะสม

E-mail : sukhum@deemark.co.th

กระบวนการฉีดขึ้นรูป (Injection molding)

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

          แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก หลายๆท่านอาจยังสงสัยว่าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกทำงานอย่างไร ทำไมจึงผลิตชิ้นงานออกมาได้  ขออธิบายแบบง่ายๆ คือ ปกติตัววัตถุดิบตั้งต้นของพลาสติกจะมาเป็นรูปแบบของเม็ดพลาสติก ก่อนนำเม็ดพลาสติกมาเข้ากระบวนการขึ้นรูป เราต้องทำการไล่ความชื้นที่ตัวเม็ดพลาสติกเสียก่อน โดยการนำเม็ดไปอบที่อุณหภูมิหนึ่งเพื่อไล่ความชื้นออกจากตัวเม็ดพลาสติก (ระยะเวลาและอุณหภูมิจะแตกต่างไปตามชนิดของเม็ดพลาสติก)

          เมื่อเม็ดพลาสติกผ่านการอบเพื่อไล่ความชื้นแล้ว เราจึงนำไปใส่ในเครื่องฉีดพลาสติก ตัวของเครื่องฉีดพลาสติกจะมีส่วนของแผงให้ความร้อนอยู่ เพื่อทำให้พลาสติกเกิดการหลอมเหลว และตัวของกระบอกและสกรูเป็นตัวคลุกเคล้าเม็ดพลาสติกให้หลอมเหลวได้ดียิ่งขึ้น  เมื่อพลาสติกหลอมเหลวได้ดีเพียงพอแล้ว ก็จะเริ่มทำการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์

          ที่ส่วนปลายของสกรูฉีดพลาสติกจะเป็นที่ติดตั้งแม่พิมพ์ไว้ ส่วนปลายสุดของสกรูคือทางเข้าของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เนื้อพลาสติกที่หลอมเหลวจะถูกสกรูดันผ่านท่อทางที่ผู้ออกแบบแม่พิมพได้เตรียมไว้แล้ว พลาสติกจะไหลผ่านท่อทางเข้าสู่โพรงแบบ (Cavity) กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งพลาสติกหลอมเหลวเข้าไปเต็มโพรงแบบ สกรูของเครื่องฉีดจะดันย้ำอีกครั้งเพื่อเป็นการรักษาแรงดันภายในของเนื้อพลาสติกให้หนาแน่น และเป็นการป้องกันการหดตัวของพลาสติก

เมื่อพลาสติกเริ่มเย็นตัวและแข็งแรงเพียงพอ เครื่องฉีดจะเปิดเพื่อทำการปลดชิ้นงานออก ระบบการปลดนี้ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะปลดชิ้นงาน และจะต้องไม่ทำให้ชิ้นงานได้รับความเสียหายในระหว่างการปลดด้วย

E-mail : sukhum@deemark.co.th