เครื่องฉีดพลาสติกมีกระบวนการทำงานอย่างไร ตอนที่2
เครื่องฉีดพลาสติกมีกระบวนการทำงานอย่างไร ตอนที่2 จากบทความที่แล้วเราก็ได้พูดถึงจังหวะในการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกไปแล้วว่ามีทั้งหมด 9 จังหวะด้วยกันและในบทความนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของกระบวนการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกกันต่อว่ากระบวนการต่อไปคืออะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้จากกระบวนการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกนั้น ในช่วงเลื่อนชุดฉีดเข้าและออกอาจจะไม่ต้องมีจังหวะที่2และจังหวะที่7 ก็ได้ โดยการแช่หัวฉีดพลาสติกไว้อยู่ตลอดเวลาของการทำงานในกระบวนการฉีดพลาสติกนั้นเพื่อช่วยในการลดเวลาของการทำงานทั้งวงจรลงไปได้ แต่ก็ควรจะเผื่ออุณภูมิที่หัวฉีดเอาไว้ด้วย เพราะการถ่ายเทความร้อนออกจากหัวฉีดไปยังแม่พิมพ์พลาสติกที่ดีที่สุดของกระบวนการฉีดพลาสติกนั้นควรใช้ฉนวนกั้นระหว่างหัวฉีดพลาสติกกับแม่พิมพ์พลาสติก โดยใช้แผ่นเทฟล่อนหรือเบเกอร์ไลท์
นอกจากนี้จังหวะการทำงานตามปกติแล้ว ทางโรงงานฉีดพลาสติกอาจจะเพิ่มจังหวะที่เกลียวหนอนเลื่อนถอยหลังกลับมาตามแนวแกนหลังจากหยุดหมุมแล้ว จังหวะนี้มีเอาไว้เพื่อไม่ให้พลาสติกเหลวไหลออกจากหัวฉีดเมื่อถอยชุดฉีดกลับในกรณีที่ใช้หัวฉีดแบบเปิด ซึ่งเราจะเรียกกันว่าจังหวะซักแบ็ก (Suck Back) หรือ ดีคอมเพรสชั่น (Decompression)
จังหวะในการฉีดพลาสติก มีดังนี้
TC = เวลาปิดแม่พิมพ์พลาสติก
TP = เวลาที่ชุดฉีดเลื่อนเข้าชนแม่พิมพ์
TI = เวลาในการฉีดพลาสติก
TH = เวลาในการย้ำ
TK* = เวลาหล่อเย็นที่ปรับตั้ง
TD = เวลาหลอมเหลวและป้อนเม็ดพลาสติกไปยังหน้าปลายเกลียวหนอน
TB = เวลาที่ชุดฉีดถอยหลังกลับ
TO = เวลาแม่พิมพ์พลาสติกเปิด
TE = เวลาปลดชิ้นงานพลาสติก
TSP = เวลาในการฉีดย้ำหรือเวลาฉีดรวม
TK = เวลาหล่อเย็นทั้งวงจร
TZ = เวลาการทำงานทั้งวงจร
เวลาทำงานของเครื่องฉีดพลาสติก
เวลาในการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกนั้น สามารถปรับตั้งได้ทั้งแบบทางตรง-ทางอ้อม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแฟกเตอร์ต่างๆ ดังนี้
เวลาของการปิดแม่พิมพ์ : ระยะทางและความเร็วของชุดปิด-เปิดแม่พิมพ์พลาสติก
เวลาฉีด : ระยะทางของปริมาณพลาสติกเหลวหน้าปลายเกลียวหนอน
เวลาย้ำรักษาความดัน : ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของชิ้นงาน ความดันและเวลาที่ใช้ในการฉีดย้ำ
เวลาหล่อเย็นที่ปรับตั้ง : ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน ชนิดของพลาสติก อุณภูมิของแม่พิมพ์และอุณหภูมิของพลาสติกเหลว
เวลาหลอมและป้อนพลาสติก : ขึ้นอยู่กับปริมาณของพลาสติกที่ใช้ ขนาดของกระบอกฉีด ความเร็วรอบเกลียวหนอนและความดันต้านถอยหลังกลับของเกลียวหนอน
เวลาหล่อเย็นรวม : เวลาฉีด เวลาย้ำรักษาความดันและเวลาของกระบวนการหล่อนเย็นที่ปรับตั้งเอง
เวลาฉีดทั้งหมด : เวลา+เวลาย้ำรักษาความดัน
เวลาของการเปิดปิดแม่พิมพ์ : ระยะทางที่แม่พิมพ์เคลื่อนที่และความเร็วของชุดปิด-เปิดแม่พิมพ์
เวลาในการปลดชิ้นงาน : ระยะทางที่เข็มกระทุ้งเคลื่อนที่ ความเร็วในการเคลื่อนที่และจำนวนครั้งในการปลดชิ้นงาน
เวลาทำงานทั้งวงจร : ระยะเวลาในการทำงานของกระบวนการต่างๆ ควรใช้เวลาให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีการเลือกใช้ขนาดของเกลียวหนอน
เมื่อเราได้ทำการคำนวณปริมาณของพลาสติกเหลวทั้งหมดที่ต้องการจะใช้ในการฉีดแต่ละครั้งแล้ว เราก็สามารถทำการทดลองเลือกขนาดของเกลียวหนอนและกระบอกฉีดที่ต้องการจะใช้งาน โดยเมื่อเราทำการทดลองเลือกได้แล้ว ปริมาณของพลาสติกเหลวทั้งหมดจะอยู่ที่บริเวณหน้าปลายเกลียวหนอน ดังนั้นระยะความยาวในกระบอกฉีดเมื่อรวมกับระยะกันกระแทกแล้วจะต้องไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัววัสดุพลาสติกได้จากความร้อน
และนี้ก็เป็นการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกทั้งหมดที่แอดมินได้รวบรวมนำมามอบให้กับทุกท่านในวันนี้ หวังว่าทั้งสองบทความเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านเพื่อการนำไปปรับใช้กับงานของท่านค่ะ
บริษัท ดีมาร์ค อุตสาหกรรม จำกัด ของเรารับฉีดพลาสติกได้ทุกขนาด ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่และยังรับฉีดพลาสติกขั้นต่ำ สำหรับผู้ที่ต้องการฉีดพลาสติกชิ้นงานจำนวนไม่มาก ในราคาถูก
ลูกค้าท่านใดที่มีความต้องการในการสร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง เราพร้อมที่จะร่วมงานสร้างสรรค์ผลิตผลงานของท่านให้เป็นจริง ไม่เพียงแต่แค่แนวคิดแต่เรายังสามารถสร้างงานของท่านให้ออกมาเป็นชิ้นงานพลาสติกจริงได้ สนใจให้เราช่วยออกแบบชิ้นงานและผลิตชิ้นงานของคุณ
…………………………………………………………….
สนใจติดต่อฉีดพลาสติก
DEEMARK INDUSTRY CO.,LTD
3/27 หมู่ 2 ซ.วัดศรีเรืองบุญ ถ.กาญจนาภิเษก
ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
Phone: 02-985-1546, 081-844-8224
Fax: 02-984-1538